Assignment4

1. จงอธิบายแนวโน้มขอบเขตการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต

•แนวโน้มขอบเขตการสื่อสารจะรวมเอาทางด่วนอิเล็กโทรนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย  อินเตอร์เน็ต กลุ่มข่าวสารนับพัน การบริการข่าวสารและระบบอินเตอร์เน็ตส่วนบุคคลรวมเข้าเป็นระบบหนึ่งเดียว มีระบบทางด่วนข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมตำแหน่งการเชื่อมต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และเป็นระบบที่มีคนใช้บ่อยที่สุด
•ระบบการสื่อสารที่เสมือนมีสายลวดพันรอบโลกยังไม่มีใครตั้งชื่อ แต่รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะมีการพูดถึงทางด้านข้อมูลสื่อต่างๆ จะผลิตข่าวสารและกระจายข่าวสารดังกล่าวโดยใช้ระบบการสื่อสารดังกล่าว
•การเจริญเติบโตจะขยายจากเมืองสู่ชนบท ระบบการสื่อสารที่ช้าจะค่อยๆ ถูกแทนที่โดยระบบสื่อสารที่เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า
•ระบบการสื่อสารแบบไร้สายจะเข้ามาแทนที่ระบบการสื่อสารแบบมีสาย
•คอมพิวเตอร์จะเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในอุปกรณ์หรือเครื่องอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันเช่นตู้เย็น รถยนต์ และอื่นๆ
•การประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ : ระบบจะส่งข่าวสาร การหลอมรวมของเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้ผู้ร่วมประชุมหรือผู้สนทนา และผู้พูดมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันพูดโต้ตอบกันได้เหมือนนั่งอยู่ในที่เดียวกัน
การใช้ดาวเทียม

การใช้ดาวเทียมทำให้ทราบตำแหน่งของรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่อยู่บนถนน  สุดขอบเขตการสื่อสารจะเป็นขอบเขตที่กว้างไกลที่สุด มีผู้ใช้และให้บริการมากที่สุดเช่นกันในบรรดาผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นใคร

  ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงเป็นเขตแดนอันตรายสำหรับผู้ใช้ แต่ทุกๆ วันจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ แม้ว่าจะไม่มีกฏระเบียบการใช้ ผู้บุกเบิกที่มีความรับผิดชอบยอมรับกฎความจริงดังกล่าวและใช้ระบบต่อไปโดยที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยโดยตรง

gps

2. จงอธิบายแนวโน้มระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับข้องกับอินเทอร์เน็ต

ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต 
1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต 
มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  นำมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน ตัวอย่างเช่น แนวคิดบ้านอัจฉริยะ ที่มีการควบคุมการทำงานของบ้านภายใน ผ่านระบบปฏิบัติการที่จะสั่งงานอุปกรณ์ที่อยู่ในบ้านได้ เช่น
1) การดูโทรทัศน์แบบสั่งได้ (ออน ดีมานด์) ควบคุมระดับเสียงของวิทยุให้นุ่มหู หรือเลือกที่จะเล่นเกมยามว่าง
2) ตู้เย็นสามารถตรวจเช็คได้ว่า ขณะนี้มีของอะไรอยู่ในตู้เย็นบ้าง และของเหล่านั้นถูกใช้ไปเท่าไรเช่น มีไข่ในตู้เย็น 10 ฟอง ถ้านำไข่ออก 2 ฟอง ระบบจะรายงานทันทีว่า มีไข่เหลือ 8 ฟอง ซึ่งหากต้องการสั่งซื้อของบเพิ่ม ก็สามารถซื้อผ่านตู้เย็นได้ทันที รวมทั้งขอสูตรการทำอาหารรสเด็ดต่างๆ ได้ด้วย
3) ห้องนอนสามารถควบคุมแสง ด้วยการสั่งผ่านเสียง เช่น ต้องการให้แสงภายในห้องมืดลงก็พูดสั่งได้เลย แสงภายในห้องก็จะลดความสว่างลงโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
4) การใช้กล้องวงจรปิด ปัจจุบันกล้องวงจรปิดได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมาก เนื่องมาจากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์, โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นส่วนถูกบันทึกโดยกล้องวงจรปิด เลยทำให้่ผู้คนหันมาติดกล้องวงจรปิดกันมากขึ้น โดยกล้องวงจรปิดที่อยู่ตามอาคาร ทางเข้า หรือที่สาธารณะต่างๆ ก็เพื่อจุดประสงค์ทางด้านการรักษาความปลอดภัย ซึ่งกล้องวงจรปิดเหล่านี้ จะมีความสามารถในการเก็บภาพเป็นจำนวนมากมายหลายเฟรมต่อเนื่องกัน เพื่อมาเก็บไว้ที่เครื่องบันทึกวิดีโอ ทั้งยังสามารถดูผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ หากเราเดินทางไปต่างจังหวัด เพื่อเปิดดูเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่บ้าน
5) การใช้ GPS นำทาง เครื่องรับสัญญาณ GPS รับสัญญาณ GPS ในเครื่องตัวโปรแกรม ที่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่องรับสัญญาณจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ที่ถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องแล้วเช่นกัน แผนที่สาหรับการนาทางจะเป็นแผนที่ชนิดพิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การ จราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว สถานที่สำคัญ และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่นั้นแล้ว ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการสำรวจและตั้งค่าไว้โดยบริษัทหรือองค์กร ที่ผลิตแผนที่ฐานนั้นๆ ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมสามารถเลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้กำหนดไว้
 ผลกระทบด้านสังคม
(1) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่ง แท้แต่ในถิ่นทุรกันดาร เช่น
1) การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning) เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 20 เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
2) การรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร เรียกอีกอย่างว่า การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine) คือการนำเทคโนโลยีด้านไอที และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม (โทรศัพท์, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ , wi-fi, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ , 3G , 4G, ดาวเทียม เป็นต้น) มาช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค รักษาโรค และดูแลผู้ป่วย โดยมักจะมุ่งไปเพื่อการนำบริการด้านสาธารณสุขให้เข้าถึงพื้นที่ที่ห่างไกลและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและบริการด้านสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วและเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งการทำ Telemedicine นี้ เป็นได้ตั้งแต่ง่ายๆเพียงแค่การทำตารางนัดหมายแบบออนไลน์ ไปจนถึงการผ่านตัดทางไกล ( remote surgery) เลยก็ได้

3) การรักษาโรคทางไกล (Telemedicine)

การทำ remote monitoring ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Telemedicine ช่วยให้การ monitor หรือการตรวจสังเกตุติดตามอาการคนไข้หรือคนแก่ ทำได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องนั่งเฝ้าตลอดเวลา เช่นติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถส่งภาพมายังโทรศัพท์มือถือผ่านทางอินเทอร์เน็ต ให้คอยติดตามดูอาการของคนไข้หรือคนชราที่อยู่บ้านคนเดียวได้ตลอดเวลา แม้ลูกหลานจะอยู่นอกบ้าน หรือการติด sensor ไว้ที่คนไข้เพื่อให้ส่งสัญญาณการติดตามอาการ หรือส่งสัญญาณเตือนหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นมายังคอมพิวเตอร์หรือมือถือ หรือ Tablet ของผู้ที่มีหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการของคนไข้เป็นต้น

การจัดทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วยที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น
ผลกระทบด้านการเรียนการสอน 
ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนการสอน เช่น วิดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากขึ้น

 ผลกระทบด้านลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
นับตั้งแต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทมากในชีวิตประจำวัน การใช้เทคโนโลยีเป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีไปในด้านต่างๆ ซึ่งแน่นอนที่ทุกสิ่งย่อมมีทั้งคุณและโทษ ภาพยนตร์หลายเรื่องได้สะท้อนความคิดของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในทางลบ ผลกระทบในทางลบเหล่านี้บางอย่างเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่อย่างไรก็ตามย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้

ผลกระทบในทางลบของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้

1) ทำให้เกิดอาชญากรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหนทางในการก่ออาชญากรรมได้ โจรผู้ร้ายอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผนปล้น วางแผนโจรกรรม มีการลักลอบใช้ข้อมูลข่าวสาร มีการโจรกรรมหรือแก้ไขตัวเลขบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การแก้ไขระดับคะแนนของนักศึกษา การแก้ไขข้อมูลในโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลคนไข้ผิด ซึ่งเป็นการทำร้ายหรือฆาตกรรมดังที่เห็นในภาพยนตร์

2) ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเห็นตัว การใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแม้แต่การเล่นเกมมีลักษณะการใช้งานเพียงคนเดียว ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ผลกระทบนี้ทำให้มีความเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ของบุคคลจะน้อยลง สังคมใหม่จะเป็นสังคมที่ไม่ต้องพึ่งพากันมาก อย่างไรก็ดีได้มีงานวิจัยคัดค้านและแสดงความคิดเห็นที่ว่าเทคโนโลยีได้ช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารถึงกันมากขึ้นและความสัมพันธ์ดีขึ้น

3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล ผลกระทบนี้เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่มีความวิตกกังวลว่า คอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดการว่าจ้างงานน้อยลง มีการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในงานมากขึ้น มีระบบการผลิตที่อัตโนมัติมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานอาจตกงาน หรือหน่วยงานอาจเลิกว่าจ้างได้ โดยความจริงแล้วความคิดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับบุคลากรบางกลุ่มเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลนั้นมีการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี หรือมีการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้วปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น

4) ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกหนี้การค้า ข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ หากเกิดการสูญหายของข้อมูล อันเนื่องมาจากเหตุอุบัติภัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามที่ทำให้ข้อมูลหายหมด ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง

5) ทำให้มีการพัฒนาอาวุธที่มีอำนาจทำลายสูง ประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายสูง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสงครามและมีการสูญเสียมากขึ้น

6) ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมและกระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญ ดังเช่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีผู้สร้างโฮมเพจหรือสร้างข้อมูลข่าวสารในเรื่องภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาพอนาจาร หรือภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย การดำเนินการเช่นนี้ย่อมขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการปลอมแปลงระบบจดหมาย เพื่อส่งจดหมายถึงผู้อื่นโดยมีเจตนากระจายข่าวที่เป็นเท็จ จริยธรรมการใช้งานเครือข่ายเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปลูกฝังอย่างมาก

7) ทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมถูกทำลายได้ง่าย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนามาก ข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีทำให้ข้อมูลถูกทำลายได้ง่าย อาจจะถูกทำลายด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถทำสำเนาตัวเองเข้าไปอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ สามารถแพร่ไปยังระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์บางชนิดทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลต่างๆ บางชนิดทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง ผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์และจุดประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น ว่าต้องการให้โปรแกรมทำงานอย่างไร ทั้งนี้เราก็ควรจะปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกที่ดี ไม่ให้ทำลายข้อมูลผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้

8) จริยธรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เนื่องจากในโลกของการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนอาจทำให้ข้อมูลสารสนเทศที่ได้รับมีเนื้อหาทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม บ่อยครั้งที่การส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งอาจทำให้บุคคลที่สามเกิดความเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งเนื้อหาของสารสนเทศที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องยากที่จะควบคุม มิให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันกลไกของรัฐกำลังพยายามเข้าไปจัดการกับปัญหาดังกล่าวแต่ก็มีข้อจำกัดในหลายๆ ประการที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ทั้งหมด ทางออกของการแก้ไขปัญหาดูเสมือนหนึ่งว่าจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับประเด็นทางจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์มากกว่าเพื่อการทำลาย ดังนั้นการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องทางจริยธรรมคงจะเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวได้ในระยะยาว
ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ

8.1 การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมมีจำนวนมากขึ้น อาทิ เว็บไซต์ลามกอนาจาร เว็บไซต์บริการทางเพศ เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนัน เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับยาเสพติดเว็บไซต์ที่ขายของผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบอย่างทั่วถึงเป็นไปได้ยาก

8.2 เว็บแคม (webcam) หรือ เว็บแคเมรา (web camera) เป็นกล้องที่ส่งสัญญาณภาพผ่านทางคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยที่แต่ละฝ่ายสามารถเห็นภาพกันและกันขณะพูดคุย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการประชุมออนไลน์ แต่ขณะเดียวกัน เว็บแคมก็เป็นสื่อที่ใช้ในการชมและถ่ายทอดกิจกรรมทางเพศ หรือแสดงลามกทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น

8.4 การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปสร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ อาทิ รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายทำงานช้าลง ติดตั้งโปรแกรมที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์

3. จงอธิบายทิศทางความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

           การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในปัจจุบันมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยชนะข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีแนวโน้มไปในทิศทางของการสื่อสารรับส่งข้อมูลได้ในทุกที่และทุกเวลา ระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ไม่จำกัดแค่เพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่สามารถติดต่อผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกรูปแบบ และการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบกับการทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติและกลายเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ในที่สุด  ดังจะเห็นได้จาก แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังต่อไปนี้

   ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous Technology)

original_ubiquitous_img1

ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous Technology) เป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ในทุกที่ ทุกเวลา โดยเป็นการพัฒนาที่รวมเอา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการควบคุมและเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุม และทำกิจกรรมต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา  โดยจะผลักดันให้คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ กล่าวคือ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง ตลอดเวลาและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ณ สถานที่แห่งนั้นได้เหมือนเป็นคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ซึ่งชิป(Chip)ของคอมพิวเตอร์จะถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้สามารถควบคุมสิ่งต่างๆผ่านระบบเครือข่ายได้ ซึ่ง ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous Technology) มีจุดเด่น 3 ประการ คือ         

  1. คอมพิวเตอร์มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. ผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่ ตัวอย่างเช่น สร้างสภาพแวดล้อมที่มีคอมพิวเตอร์ซ่อนอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆและทำงานเมื่อผู้ใช้เปล่งเสียง เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้คีบอร์ด(Keyboard)หรือเมาส์(Mouse)ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
  3. การบริการคอมพิวเตอร์ที่มีให้เลือกจะเปลี่ยนไปตามผู้ใช้, สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในที่นั้น

   นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)

นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) หรือเทคโนโลยีซุปเปอร์จิ๋ว หมายถึง เทคโนโลยีทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับระดับนาโนเมตร (nm) หรือหนึ่งในพันล้านเมตร  โดยทั่วไปเป็นที่เข้าใจกันว่า นาโนเทคโนโลยีจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดในช่วง 0.1 ถึง 100 นาโนเมตร และหากจะเปรียบเทียบขนาดของวัตถุชิ้นเล็กๆที่เรารู้จัก เช่น เส้นผม ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ไมโครเมตร จะเท่ากับ 10,000 นาโนเมตร นั่นเอง ซึ่งจากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่า นาโนเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก ถือเป็นเทคโนโลยีระดับโมเลกุล (Molecular Technology) กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่จัดการหรือผลิตสิ่งต่างๆโดยการนำเอาอะตอมหรือโมเลกุลมาจัดเรียงกัน ณ ตำแหน่งที่ต้องการอย่างแม่นยำและถูกต้องในระดับนาโนเมตร ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ การพัฒนานาโนเทคโนโลยีนั้นยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในนามของ “นาโนคอมพิวเตอร์” (Nanocomputer) ซึ่งถือเป็นส่วนของสมองที่ทำการควบคุมเครื่องจักรกลที่ถูกสร้างขึ้นด้วยนาโนเทคโนโลยี

NanoComputer1

จะเห็นได้ว่า นาโนเทคโนโลยี ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการขาดความแม่นยำและความบกพร่องของอุตสาหกรรมการผลิตไมโครชิป ด้วยเทคโนโลยีแบบหยาบ(Bulk technology) ที่พบในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้การพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้ 

 ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway)

highway

ระบบทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถส่งผ่านข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ได้อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร ซึ่งทำให้สิ่งที่เรียกว่า การสื่อสารไร้พรมแดน หรือ โลกไร้พรมแดน เกิดเป็นจริงขึ้นมา และเทคโนโลยีระบบทางด่วนข้อมูลนี้จะช่วยให้ทุกๆคนสามารถเข้ามาใช้บริการ หรือให้บริการในลักษณะทันทีทันใด โดยระบบจะทำงานได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ (Information Infrastructures) ที่วางไว้ในแต่ละพื้นที่ว่ามีความสามารถในการรองรับข้อมูลได้ในปริมาณมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างของการใช้งานผ่านระบบทางด่วนข้อมูล ได้แก่ การสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การประชุมทางไกล(Video Conference) บริการวีดีโอออนดีมานด์ (Video-On-Demand) เป็นต้น

จากแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีทั้ง 3 อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมุ่งให้ความสะดวกกับผู้ใช้เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ส่งผลให้มนุษย์อยู่ใกล้กับเทคโนโลยีมากขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่ และทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตในที่สุด

 แนวโน้มในด้านบวก  

     •  การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 

     •  การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 

     •  การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  

     •  การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 

     •  การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  

     •  การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 

 
แนวโน้มในด้านลบ  

     •  ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 

     •  การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 

     •  การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์  

 

4. จงอธิบายทิศทางการผสมผสานระหว่างมนุษย์,คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

 

ธรรมชาติของมนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ดังนั้นในยุคปัจจุบัน พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองต่อความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบศูนย์รวม เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม คอมพิวเตอร์แบบศูนย์รวม มีลักษณะดังนี้ • มีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อจอภาพหลายๆ ตัวเข้ากับเครื่องศูนย์กลาง สำหรับให้ผู้ใช้หลายคนเข้ามาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน • ให้ผู้ใช้สามารถใช้งานพร้อมกันได้หลายคน • ใช้ทรัพยากรร่วมกันที่เครื่องศูนย์กลาง เช่น CPU , หน่วยความจำ • การประมวลผลจะมีขึ้นที่เครื่องศูนย์กลางเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ หรือ พีซี ขึ้นมา การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพราะใช้งานง่าย ราคาไม่สูง เมื่อมีการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์มากขึ้น ก็มีการปรับปรุงและพัฒนาให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีลักษณะดังนี้ • มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม มาเป็นเครื่องให้บริการ หรือที่เรียกว่า Server และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เป็นเครื่องใช้บริการ หรือที่เรียกว่า Client • หรือ นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องให้บริการ (Server) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์อื่นๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (Client) โดยต่อกันเป็นเครือข่าย • แต่ละเครื่องที่เป็น Client จะมี CPU และ หน่วยความจำ ของตัวเอง บทบาทสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีต่อหน่วยงานต่างๆ
สรุปได้ดังนี้
• ทำให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน เช่นฐานข้อมูล • ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้ตัวประมวลผล (CPU)ร่วมกัน ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน • ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้ 
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail หรือ E-mail) เป็นบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถรับส่งข้อความผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ
• การถ่ายโอนแฟ้ม (File Transfer Protocol :FTP) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ จากเครื่องอื่นมาเก็บไว้ยังเครื่องที่ต้องการ
• กลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นบริการที่รวมกลุ่มของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อส่งข่าว และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจนั้น
• การเข้าใช้เครื่องระยะไกล (Remote Login) คือการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อขอเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลได้ เสมือนได้นั่งอยู่ที่หน้าเทอร์มินัลของเครื่องนั้นๆ
• การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ครองคลุมทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบ อาร์คี (Archie) ที่ช่วยในการค้นหาแฟ้มที่เราทราบชื่อแต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่เครื่องใดในอินเตอร์เน็ต
• การสนทนาทางเครือข่าย เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตโดยผู้ใช้ฝ่ายหนึ่งสามารถสนทนากับผู้ใช้อีกฝ่ายหนึ่ง มีการโต้ตอบกันทันทีได้โดยการพิมพ์ข้อความหรือใช้เสียง
การผสมผสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์คือ การที่ไมโครโปรเซสเซอร์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นชิ้นส่วนหลักของสิ่งที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ชิ้นส่วนของมนุษย์ เป็นต้น

 ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI : Artificial Intelligence เป็นศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เน้นการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถ คิด คำนวณ ปฏิบัติการ และแสดงการกระทำต่างๆได้เหมือนมนุษย์ การศึกษาในเรื่องของ AI ประกอบด้วย 4 สาขา ดังนี้

  1. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์
  2. ภาษาธรรมชาติ
  3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
  4. ความสามารถในการจำลองประสาทสัมผัสของมนุษย์

 

อ้างอิงจาก

http://www.hrtothai.com/Articles/Index/997

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/29/con1_2.html

http://0026008.blogspot.com/2012/09/6.html

http://www.l3nr.org/posts/288617

Leave a comment